วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2558


...วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อ 2 ชิ้น ได้แก่ สื่อชาร์ตเพลง สื่อหนังสือคำศัพท์
แต่ก่อนที่เราจะไปทำสื่อ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปลิงก์บล็อกของตนเองให้เรียบร้อยก่อน


อาจารย์ได้ให้ความรู้ในการทำสื่อ 
v
v
1. การทำสื่อชาร์ตเพลง ต้องเลือกเพลงที่สามารถใส่รูปภาพเข้าไปได้ เป็นการสอนเด็กโดยใช้ภาษาธรรมชาติ หรือการใช้ประสบการณ์เดิม เด็กจะสามารถเกิดเรียนรู้ได้ดีกว่า และเพลงไม่ควรเป็นเพลงที่มีรูปอย่างเดียว ควรจะมีทั้งภาพและคำด้วย





ขั้นตอนการทำ
1 เลือกเพลงที่เราจะทำ (ถ้าเพลงยาวก็ตัดกระดาษเป็นแนวนอน ถ้าเพลงสั้นก็ตัดกระดาษเป็นแนวตั้ง)
2 วัดกระดาษให้ได้ 5 นิ้ว แล้วตัดออกทีละส่วน
3 วัดขอบด้านในเหลือขอบบน ขอบล่าง ด้านละ 1 นิ้ว ส่วนตรงกลางเว้นไว้สำหรับเขียนสระให้เหมาะสม
4 เขียนเนื้อเพลง และวาดรูปคำ ลงในกระดาษ
5 ระบายสีให้สวยงาม
6 ติดแลคซินด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างให้เรียบร้อย


2. การทำสื่อหนังสือคำศัพท์เลือกพยัญชนะหรือสระมา 1 ตัว เช่น สระอา ในหนังสือคำศัพท์ก็จะมีคำว่า อีกา ขา ตา เป็นต้น เทคนิคการทำ คือ ตัดส่วนที่เป็นสระอาออก เหลือไว้แค่หน้าสุดท้าย และควรคำนึงด้วยว่า มันจะตรงกันหรือไม่ ไม่ควรตัดช่องกว้างเกินไปเพราะอาจจะมองเห็นตัวหนังสือตัวอื่น



วิธีทำ
1 นำกระดาษ A4 มาพับครึ่ง 6 แผ่น เย็บรวมกัน แผ่นแรกคือหน้าปก
2 คิดพยัญชนะ สระ แล้วกำหนดคำว่าควรจะอยู่ตรงไหน
3 เขียนคำลงในช่อง ความสูงประมาณ 1 นิ้วครึ่ง
4 ตัดส่วนพยัญชะหรือสระที่เราเลือกออกเหลือไว้แค่หน้าสุดท้าย
5 วาดรูประบายสีให้สวยงาม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำสื่อในวันนี้ได้ความรู้ในการทำสื่อเพิ่มมากขึ้น ได้ประดิษฐ์สื่อหลากหลายรูปแบบ ได้รู้ข้อควรคำนึงและเทคนิคต่างๆในการทำสื่อสำหรับเด็ก เช่น การใส่ภาพเข้าไปแทนที่จะเป็นตัวอักษร ส่วนหนังสือสมุดภาพคำศัพท์ได้เทคนิคและการใช้ลูกเล่นกับหนังสือ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง -  ตั้งใจในการทำสื่ออย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันกับเพื่อนๆในกลุ่ม
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น เพื่อนๆ มีความตั้งใจในการทำสื่อ มีการช่วยเหลือกันดีมาก
ประเมินอาจารย์ผู้สอน - อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน และเตรียมกิจกรรมมาสอนเป็นอย่างดี ทำเป็นลำดับขั้นตอนทำให้เข้าใจง่าย อธิบายขั้นตอนต่างๆได้ครบถ้วน




วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2558


สื่อวันนี้คือ สื่อเกมการศึกษา



อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกภาพที่อาจารย์นำมาให้ว่าจะใช้ภาพใดในสื่อเกมการศึกษาใด เมื่อเลือกได้เสร็จแล้วนำภาพไปถ่ายเอกสารเป็น 2 ชุด

สื่อเกมการศึกษาแบบที่ 1 สื่อภาพตัดต่อ
 

ขั้นตอนการทำ
1. นำภาพไปถ่ายเอกสารขนาด A3 
2. ระบายสีภาพให้สวยงาม
3. ตัดภาพออกเป็น 12 ชิ้น ติดภาพเข้ากับกระดาษแข็ง เพื่อความแข็งแรง
4. ตัดภาพออกทีละชิ้น
5. นำชิ้นส่วนภาพไปเคลือบสติกเกอร์ใส
วิธีการเล่น : ต่อชิ้นส่วนภาพให้เข้ากันได้ถูกต้อง

สื่อเกมการศึกษาแบบที่ 2 สื่อจับคู่ภาพเหมือน

ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมภาพที่เหมือนกัน 2 ชุด
2. ระบายสีภาพทั้ง 2 ชุดให้เหมือนกัน
3. ตัดภาพออกทีละชิ้น
4. นำชิ้นส่วนภาพไปเคลือบสติกเกอร์ใส
วิธีการเล่น : จับคู่ภาพที่เหมือนกัน

สื่อเกมการศึกษาแบบที่ 3 สื่อจับคู่ภาพเงา

ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมภาพที่เหมือนกัน 2 ชุด
2. ระบายสีภาพชุดที่ 1 ให้สวยงาม ระบายสีภาพชุดที่ 2 ด้วยสีดำ (หรือถ่ายเอกสาร)
3. ตัดภาพออกทีละชิ้น
4. นำชิ้นส่วนภาพไปเคลือบสติกเกอร์ใส
วิธีการเล่น : จับคู่ภาพสีและภาพเงาที่เหมือนกัน

สื่อเกมการศึกษาแบบที่ 4 สื่อสังเกตรายละเอียด

ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมภาพตัวแบบ ระบายสีให้สวยงาม
2. ระบายสี ส่วนประกอบของภาพให้สวยงาม
3. ตัดภาพออกทีละชิ้น
4. นำชิ้นส่วนภาพและนำตัวแบบไปเคลือบสติกเกอร์ใส
วิธีการเล่น : สังเกตภาพตัวแบบว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำชิ้นส่วนไปวางใต้ภาพ เช่น ในภาพตัวแบบมีรูปปูก็นำรูปปูไปวางไว้ใต้ภาพ เป็นต้น

สื่อเกมการศึกษาแบบที่ 5 สื่อจัดหมวดหมู่

ขั้นตอนการทำ
1. ระบายภาพรูปในกระดาษทุกรูป (รูปที่เลือกมีผักและผลไม้) 
2. ตัดภาพออกทีละชิ้น
3. นำชิ้นส่วนภาพไปเคลือบสติกเกอร์ใส
วิธีการเล่น : แยกหมวดหมู่ภาพว่าภาพไหน คือ ผัก ภาพไหน คือ ผลไม้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำสื่อเกมการศึกษาวันนี้ ทำให้ได้ความรู้ในเรื่องสื่ออีกแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจและเป็นสื่อที่มีความสำคัญมากเช่นกันในการพัฒนาเด็ก เป็นสื่อที่สวยงามและเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และสื่อเกมการศึกษานี้การระบายสีควรใช้สีจริงเพราะเหมาะสำหรับเด็กอนุบาล

การประเมินผล

ประเมินตนเอง -  ตั้งใจในการทำสื่ออย่างเต็มที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเพื่อนๆ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม มีการช่วยเหลือกันดีมาก
ประเมินอาจารย์ผู้สอน - อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน และเตรียมกิจกรรมมาสอนเป็นอย่างดี เป็นลำดับขั้นตอนทำให้เข้าใจง่าย 



วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพุธ ที่ 14 ตุลาคม 2558



วันนี้อาจารย์สอนให้ทำสื่อ 2 ชิ้น....

สื่อชิ้นที่ 1 

วิธีทำ 1. ระบายสีภาพใหสวยงาม
2. ตัดวงล้อออกมา นำไปทาดาวติดกับกระดาษแข็ง
3. ตัดภาพตามรอย
4. ติดวงล้อเข้ากับกระดาษพื้นหลัง
5. นำกระดาษรูปฝนมาติด (จะสามารถเปิดได้)


สื่อชิ้นที่ 2

วิธีทำ 1. ระบายสีภาพให้สวยงาม
2. ตัดชิ้นส่วน บ้าน พุ่มไม้ แมลง และรูปหัวพ่อและเด็กออก
3. นำชิ้นส่วนไปติดกับกระดาษแข็ง (เพื่อความแข็งแรง)
4. เจาะรู ติดเส้นเอ็นเข้ากับชิ้นส่วนและภาพพื้นหลัง มัดให้แน่น

รูปภาพ การทำงาน

ผลงาน

ผลงาน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำสื่อวันนี้ทำให้มีทักษะในการทำสื่อเพิ่มมากขึ้น ได้ความคิดสร้างสรรค์ ได้ทำสื่อหลายรูปแบบ ตลอดจนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำสื่อที่ถูกต้องและวิธีการใช้สื่อให้เหมาะสม และยังสามารถนำไปเป็นสื่อการสอนได้ เช่น การนำไปประกอบการเล่านิทาน สื่อเลื่อนได้เป็นสื่อที่มันเหมือนมีอะไร มันเหมือนมีชีวิต มันสามารถเล่นได้เมือนำไปใช้กับเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและตื่นเต้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง - สามารถทำสื่อได้ดีขึ้น จากวันแรกๆที่ยังทำได้ไม่ค่อยสมบูรณ์
ประเมินเพื่อน - เพื่อนก็ตั้งใจทำสื่อ มีน้ำใจต่อกันแบ่งปันสิ่งขอซึ่งกันและกัน และเพื่อนก็สามารถทำสื่อได้ดีขึ้น
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนวิธีการทำสื่อได้ดี ละเอียด และมีการเรียนแบบสยายๆไม่เครียด







วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2558




วันนี้อาจารย์สอนให้ทำสื่อเลื่อนได้สุดสร้างสสรค์ เพื่อทำให้สื่อดูมีชีวิตชีวาเพิ่มมากขึ้น
ไปดูกันเลย

v
v
v

สื่อชิ้นที่ 1 สื่อหนังสือมหัศจรรย์
สื่อชิ้นนี้กลุ่มพวกเราออกแบบกันเองค่ะ สื่อหนังสือมหัศจรรย์สามารถเลื่อนเปิดปิดเองได้โดยใช้เส้นเอ็นเป็นสายชักตัวหนังสือใช้ทำโดยกระดาษแข็ง (ซึ่งแข็งและหนามาก555) ภายในตกแต่งด้วยกระดาษ A4 และกระดาษสี เป็นหนังสือคำศัพท์พร้อมภาพประกอบ เช่น Sun พระอาทิตย์ Sea ทะเล เป็นต้น



สื่อชิ้นที่ 2 สื่อเรือทะเล
เป็นสื่อเรือแล่นในท้องทะเล ทำโดยการใช้กระดาษแข็งเช่นกัน วาดและตกแต่งตัวเรือให้สวยงาม ส่วนฐานทำโดยการตัดให้เป็นทรงคล้ายไม้บรรทัดเพื่อเป็นฐานในการชักไปมา ทำส่วนตั้งของเรือ ใช้แม็กเย็บตัวเรือเข้ากับส่วนที่ตั้งติดเข้ากับส่วนพื้นหลังให้แข็งแรง ตกแต่งพื้นหลังให้สวยงาม


หลังจากทำสื่อในกลุ่มของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำสื่อของแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ภาพบรรยากาศ








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำสื่อในวันนี้ได้ความคิดสร้างสรรค์ ได้ทำงานกลุ่ม มีการระดมความคิดและช่วยเหลือกัน รู้วิธีการสร้างสรรค์ที่หลากหลายรูปแบบ สื่อเลื่อนได้ เป็นสื่อสร้างสรรค์ที่เหมือนมีชีวิตและสามารถเพิ่มกลยุทธ์ในการใช้สื่อนี้อีกด้วย ในอนาคตเราก็ทำสื่อดอกไม้สร้างสรรค์เองได้ เ็นสื่อเกมการศึกษาก็ได้


การประเมินผล

ประเมินตนเอง - ในการเรียนครั้งนี้มีความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน สนุกสนานกับการทำสื่อ รู้สึกมีความภาคภูมิใจกับสื่อของตนเอง
ประเมินเพื่อน - เพื่อนเองก็มีความตั้งใจเรียน และตั้งใจทำสื่อ ช่วยเหลือและแบ่งปันสิ่งของให้กันเสมอ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนและอธิบายขั้นตอนการทำสื่อได้ดี สอดแทรกความรู้เรื่องการนำสื่อไปใช้ให้นักศึกษาอีกด้วย






วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธ ที่ 23 กันยายน 2558



วันนี้เราทำ สื่อดอกไม้ จากกระดาษทิชชู่กันค่ะ ..เริ่มกันเลย ^^



ขั้นที่ 1 เริ่มจากกระดาษทิชชู่แผ่นเดียว พันไปเรื่อยๆ พอได้เป็นดอกตูมๆแล้วก็ใช้เส้นด้ายสีขาวมัดไว้
ขั้นที่ 2 ใช้กระดาษทิชชู่เป็นสองแผ่น เพิ่มมากขึ้นเรื่อย พันแล้วบิด ให้เป็นรูปดอกไม้ เสร็จแล้วใช้ด้ายสีขาวมัดไว้

ดอกไม้แบบที่ 1



...หลังจากพับเป็นดอกแล้ว เราก็มาเริ่มทำใบ โดยนำกระดาษสีมาพับครึ่งเป็นแนวนอนเรื่อยๆ แล้ววาดรูปหยักๆของใบ จากนั้นก็ตัดตามรอย เราก็จะได้ใบไม้สีเขียวสวยๆมาหนึ่งใบ 

ดอกไม้แบบที่ 2 


เริ่มจากการใช้วิธีการพับครึ่งกระดาษทิชชู่เป็นแนวนอน จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดตามแนวไปจนสุด เสร็จแล้วพันกระดาษเข้ากับไม้ที่เตรียมไว้ ติดกาวที่ไม้และพันไปเรื่อยๆ
เสร็จแล้วก็ติดกาวที่ปลายดอก กลายเป็นดอกไม้ดังภาพ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การทำสื่อในวันนี้ทำให้ได้รู้วิธีการสร้างสรรค์ที่หลากหลายรูปแบบ สื่อดอกไม้ เป็นสื่อสร้างสสรค์ที่ทำได้ง่าย นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้วิธีการทำใบไม้เพื่อเป็นส่วนประกอบของดอกอีกด้วย ในอนาคตเราก็จะสามารถทำสื่อติดบอร์ด ทำสื่อดอกไม้สร้างสรรค์ เองได้

การประเมินผล

ประเมินตนเองในการเรียนครั้งนี้มีความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน สนุกสนานกับการทำสื่อ รู้สึกมีความภาคภูมิใจกับสื่อของตนเอง
ประเมินเพื่อน - เพื่อนเองก็มีความตั้งใจเรียน และตั้งใจทำสื่อ ช่วยเหลือและแบ่งปันสิ่งของให้กันเสมอ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนและอธิบายขั้นตอนการทำสื่อได้ดี สอดแทรกความรู้เรื่องการนำสื่อไปใช้ให้นักศึกษาอีกด้วย